วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมในชั้นเรียนการนำคอมมาใช้งาน

ให้นักศึกษาตอบคำถามลงใน บล็อคของตนเอง โดยย่อ สรุปความ ตามความคิดของตนเอง

1.              จงบอกเหตุผลในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานอุตสาหกรรม
2.              จงอธิบายระบบ CIM
3.              จงบอกประโยชน์ของของการใช้ CIM
4.              จงอธิบายการใช้ CADในงานอุตสาหกรรม
5.             จงอธิบายการใช้ CAMในงานอุตสาหกรรม
6.              จงอธิบายการใช้ CAD/CAMในงานอุตสาหกรรม

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โครงสร้างทางเทคนิคและการใช้งาน Input Unit

ให้บอกรายละเอียดโครงสร้างทางเทคนิคและการต่อใช้งาน ของอุปกรณ์อินพุทในระบบควบคุมอุตสาหกรรม ต่อไปนี้

1. Photo  Switch
2. Proximity  Switch
3. Limit  Switch

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อุณหภูมิและความร้อน

เก็บรักษานม ด้วยการควบคุมอุณหภูมิ

      อาหารที่ได้รับการยอมรับว่ามีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของมนุษย์มา ตั้งแต่ยุคสมัยใดๆที่รองมาจากนมแม่ก็คงจะเป็นนมวัว ที่ได้รับความนิยมในการบริโภค การพัฒนาผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มจึงมีออกมาหลายรูปแบบให้ผู้บริโภคได้เลือกรับ ประทานตามความชอบ ไม่ว่าจะเป็นนมยูเอชที, นมพร่องไขมัน, นมเปรี้ยว หรือโยเกิร์ต ในกระบวนการผลิตนมพร้อมดื่มนั้นมีด้วยกันหลายขั้นตอน แต่ขั้นตอนในการผลิตที่จะมาพูดถึงในวันนี้ถือว่าเป็นขั้นตอนสำคัญที่หลาย ท่านอาจะเคยได้ยินชื่อขั้นตอนเหล่านี้มาบ้าง แต่ยังไม่เคยทราบกระบวนการผลิตว่าเขาทำกันอย่างไร ขั้นตอนที่ว่านี้ก็คือการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน (Heat Treatment) เป็นขั้นตอนเพื่อทำลายจุลินทรีย์ รวมถึงเอนไซม์ต่างๆ ที่ไม่ต้องการให้มีอยู่ในนม เช่น เอนไซม์ไลเปส ที่ทำให้เกิดกลิ่นหืนในนม ฯลฯ ตลอดจนช่วยยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มให้ยาวนานขึ้น การฆ่าเชื้อจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงไรนั้น ขึ้นอยู่กับกระบวนการฆ่าเชื้อที่ผู้ผลิตเลือก ซึ่งจะมีด้วยกัน 3 วิธี ได้แก่
1. กระบวนการพาสเจอร์ไรส์ (Pasteurization) การฆ่าเชื้อวิธีนี้สามารถทำลายเอนไซม์ต่าง ๆ รวมทั้งจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ทั้งนี้อุณหภูมิที่ใช้ในการฆ่าเชื้อต้องไม่เกิน 100 องศาเซลเซียส โดยผู้ผลิตสามารถเลือกใช้อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 63 องศาเซลเซียส และคงอยู่ที่อุณหภูมินี้ไม่น้อยกว่า 30 นาที (Low Temperature Long Time) แล้วทำให้เย็นลงทันทีที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่า หรือใช้อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 72 องศาเซลเซียส และคงอยู่ที่อุณหภูมินี้ไม่น้อยกว่า 15 วินาที (High Temperature Short Time) แล้วทำให้เย็นลงทันทีที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่า สำหรับนมที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อนี้จะมีคุณค่าสารอาหารเกือบเท่ากับ น้ำนมก่อนผ่านการฆ่าเชื้อ ตลอดจนรสชาติของนมจะมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ น้ำนมตามธรรมชาติมากกว่าวิธีอื่น
2. กระบวนการสเตอริไลส์ (Sterilization) วิธีนี้สามารถทำลายจุลินทรีย์ตลอดจนเอนไซม์ทุกชนิดที่อยู่ในนมพร้อมดื่มที่ บรรจุในภาชนะปิดสนิทได้ กรรมวิธีการฆ่าเชื้อนี้ต้องใช้อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียส โดยใช้เวลาที่เหมาะสม เช่นใช้อุณหภูมิ 115-120 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 20-30 นาที วิธีนี้จะทำให้สี กลิ่น รสของนมเปลี่ยนแปล งไป เกิดกลิ่นนมต้มไหม้ (Over cooked) ขึ้น สีนมออกเหลือง และทำให้วิตามินบางตัวที่อยู่ในน้ำนมดิบลดลง เช่น โฟลิคแอซิด วิตามินบี 1 และวิตามินซี เป็นต้น
3. กระบวนการ ยู เอช ที (Ultra High Temperature) วิธีนี้จะสามารถทำลายเชื้อจุลินทรีย์ได้เกือบหมด โดยต้องใช้ความร้อนไม่ต่ำกว่า 133 องศาเซลเซียส เวลาไม่น้อยกว่า 1 วินาที แล้วบรรจุในภาชนะและในสภาวะที่ปราศจากเชื้อ โดยทั่วๆ ไปจะใช้อุณหภูมิระหว่าง 135-150 องศาเซลเซียส นาน 2-3 วินาที การฆ่าเชื้อวิธี นมพร้อมดื่มที่ได้จะมีกลิ่น-รสบริสุทธิ์กว่านมพาสเจอร์ไรส์ เนื่องจากสามารถขจัดกลิ่นอาหารสัตว์ กลิ่นฟางได้ดี นอกจากนี้น้ำนมยังมีสีขาวกว่า
หากเปรียบเทียบในด้านคุณค่า นม ยู เอช ที จะคงรักษาคุณค่าของนมได้มากกว่า เพราะผ่านความร้อนในระยะเวลาอันสั้นนั่นเอง หากมองในแง่ของประโยชน์จากจุลินทรีย์ต่างๆแล้ว นมพาสเจอร์ไรส์ คงมีประโยชน์มากกว่านั่นเอง
จะเห็นได้ว่าขั้นตอนการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนทั้ง 3 แบบ สิ่งที่สำคัญในกระบวนการก็คือการควบคุมอุณหภูมิ และเวลาให้ตรงตามมาตรฐานของการฆ่าเชื้อในแบบต่างๆ ฉะนั้นการเลือกใช้เครื่องควบคุมอุณหภูมิมาใช้ในขั้นตอนนี้จึงสำคัญมาก เป็นเหตุผลว่าทำไมเครื่องควบคุมอุณหภูมิถึงมีให้เลือกใช้งานหลายแบบ อย่างของยี่ห้อ Shinko เองก็มีทั้งแบบที่เป็นเครื่องควบคุมธรรมดา แบบที่สั่งงานและควบคุมได้จากระยะไกลเพราะต่อผ่านการสื่อสาร RS-485 หรือ หากต้องการควบคุมตามเวลา ตั้งโปรแกรมอุณหภูมิได้เป็นช่วงเวลาที่ต้องการก็มีเหมือนกัน
นอกจากนี้แล้วขั้นตอนในการเก็บผลิตภัณฑ์ก็ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิที่ เหมาะสมอีกด้วย เช่น นมพาสเจอร์ไรส์ ซึ่งควรต้องเก็บในอุณหภูมิไม่เกิน 8 องศาเซลเซียส แต่ผู้จำหน่ายกลับเก็บในตู้แช่ที่มีความเย็นไม่เพียงพอ หรือ ผู้จำหน่ายนำ นมสเตอริไลส์ หรือ นม ยู เอช ที ที่สามารถเก็บในอุณหภูมิห้องได้มาเก็บในที่ซึ่งอุณหภูมิสูงเกินไป หรือถูกแสงแดดส่องตลอดเวลา รวมถึงการที่ผู้จำหน่ายนำนม ยู เอช ที มาซ้อนทับสูงเกินไป โดยนำนม ยู เอช ที ที่บรรจุในกล่องขนาด 200 ซีซี วางซ้อนกันเกิน 10 ชั้น ขนาด 250 ซีซี วาง ซ้อนกันเกิน 8 ชั้น และขนาด 1,000 ซีซี วางซ้อนกันเกิน 5 ชั้น เพราะภาชนะบรรจุอาจเสียหาย ทำให้เชื้อจุลินทรีย์จากภายนอกเข้าไปปนเปื้อนในนม ส่งผลให้นมเสียได้
เห็นไหมคะว่ากว่าจะได้นมพร้อมดื่มที่มีคุณค่าทางอาหารที่สมบรูณ์มาให้เรา รับประทานไม่ใช่แค่เพียงได้นมมาจากแม่วัวพันธุ์ดีอย่างเดียวเท่านั้น ขั้นตอนในการผลิต การเลือกใช้เครื่องไม้เครื่องมือในการผลิตก็สำคัญนะคะ จากนี้ไปทุกท่านก็คงจะเลือกซื้อนมพร้อมดื่มได้อย่างถูกต้องแล้วนะคะ แต่ดื่มในปริมาณพอควรนะคะ ดื่มมาเกินไปตัวจะโตเท่าแม่วัวจะหาว่าไม่เตือนนะคะ
ข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กองเผยแพร่และควบคุมโฆษณา เอกสารเผยแพร่เรื่องนมพร้อมดื่มตอนที่ 1

ประหยัดพลังงานผ่านกรณีศึกษา

ประหยัดพลังงานผ่านกรณีศึกษา

RICHTMASS RP-3440
สืบเนื่องมาจากผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการเปลี่ยนแปลงค่าเงิน ส่งผลให้โรงแรมต้องปรับลดต้นทุนการดำเนินงาน โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านพลังงานซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญประการหนึ่ง โรงแรมได้ดำเนินมาตราการจัดการเบื้องต้นมากมาย ซึ่งประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง
ในเวลาต่อมา การไฟ้าฝ่ายผลิตได้เสนอโครงการอาคารสีเขียวต่อทางโรงแรม และได้ทำการสำรวจวิเคราะห์การใช้พลังงานเบื้องต้นของโรงแรมพร้อมเสนอแนะว่า โรงแรมยังมีศักยภาพในการลดการใช้พลังงานได้สูง จึงเสนอระบบจัดการพลังงาน ซึ่งผลของระบบดังกล่าวสามารถควบคุมการใช้พลังงาน ลดค่าไฟฟ้า และลดปริมาณความต้องการไฟฟ้าสูงสุด (Peak Demand) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์

ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟ้าโดยการควบคุมปริมาณการใช้ไฟฟ้า (KWHr) ปริมาณความต้องการไฟฟ้าสูงสุด (Peak Demand) เพื่อช่วยในการลดต้นทุนการดำเนินงาน แสดงแนวทางและปัจจัยแห่งความสำเร็จในการลดค่าไฟฟ้า และลดการใช้พลังงาน โดยการใช้ระบบบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้า (Energy Management System)

การดำเนินการ


กฟผ. ได้สำรวจขั้นต้น โดยติดตั้งเครื่องมือวัดค่าทางไฟ้าตามจุดต่างๆ รวมทั้งสิ้น 11 จุด แล้วส่งค่าที่วัดได้มาวิเคราะห์ประมวลผลและแสดงค่าความต้องการไฟฟ้าสูงสุด ที่เวลาต่างๆ ผลการตรวจวัดพบว่า โหลดเครื่องปรับอากาศมีสัดส่วนสูงถึง 60% แสงสว่าง 25% และโหลดอื่นๆ อีก 15% สำหรับค่าความต้องการไฟฟ้าสูงสุดอยู่ระหว่างเวลา 18:00 - 22:30 น.
จากการผลการวิเคราะห์ดังกล่าว ทางโรงแรมได้กำหนด 2 มาตรการหลัก เพื่อลดค่าไฟฟ้าโดยให้กระทบต่อการให้บริการน้อยที่สุดดังนี้
  • ความต้องการไฟฟ้าสูงสุด

    กำหนดตารางเวลาการใช้อุปกรณ์บางชนิด
    • กำหนดตารางเวลาการใช้อุปกรณ์บางชนิดให้มีการใช้งานเหลื่อมเวลากัน เช่นเตาอบขนมปัง และเครื่องซักผ้า
    • จัดเวลาและควบคุมการทำงานของเครื่องทำความเย็น (Chiller) แต่ละตัว เพื่อไม่ให้เกิดการใช้ไฟฟ้าสูงสุดทับซ้อนกัน
    • ตัดการทำงานของอุปกรณ์โดยอัตโนมัติ เมื่อค่าความต้องการสูงสุดถึงจุดที่ตั้งไว้ โดยลดการใช้งานระบบปั๊มน้ำลง 50%, ปั๊มน้ำหมุนเวียนของสระน้ำลง 50%, AHU บริเวณโถงลิฟท์ 50% ตามลำดับ และเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เมื่อจำเป็นต้องใช้โหลดเกินค่าความต้องการสูงสุดที่กำหนด
  • ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า

    ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า
    • เปลี่ยนหลอดไส้เป็นหลอดประหยัดพลังงาน T5
    • หยุดการทำงานของเครื่องปรับอากาศและแสงสว่างของทางเดินหน้าห้องพักบริเวณที่ไม่ได้ใช้งาน
    • ลดจำนวนลิฟท์ใช้งานและลดการเดินเครื่องปรับอากาศ เมื่อห้องพักใช้งานมีจำนวนน้อยกว่า 50%
    • ปรับปรุงวงจรแสงสว่างภายในส่วนสำนักงานให้สามารถควบคุมการเปิด-ปิด พื้นที่ใช้งานที่เล็กลง และจัดพื้นที่ทำงานให้กลุ่มที่ทำงานร่วมกันมาอยู่ที่เดียวกัน
    • จัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์พลังงานโดยตัวแทนของพนักงานแต่ละแผนกเป็นสมาชิกเพื่อประสานงานได้อย่างทั่วถึง

หลักการทำงานของระบบจัดการพลังงาน

ระบบจัดการพลังงาน เป็นการประสมประสานการเก็บบันทึก ประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูลของคอมพิวเตอร์เข้ากับการทำงานของอุปกรณ์ตรวจวัดเพื่อนำ ข้อมูลจากอุปกรณ์ตรวจวัด เช่นสถานการณ์ทำงานหรือค่าต่างๆ ที่เกิดขึ้น (Monitoring) ไปเก็บบันทึกรวบรวมวิเคราะห์ประเมินผลบนคอมพิวเตอร์ และแสดงผลบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ แล้วอาจแจ้งเสียงเตือน หรือสั่งงานอัตโนมัติผ่านอุปกรณ์ควบคุมการทำงาน (Control Devices) ทั้งนี้สามารถบันทึกข้อมูลต่างๆ บนแกนเวลา เพื่อประโยชน์ในการจัดทำสถิติและวิเคราะห์ผลต่อๆ ไป

ม่านลำแสงนิรภัยในโรงงานอุตสาหกรรม

ม่านลำแสงนิรภัยในโรงงานอุตสาหกรรม


ทำไมต้องมีการใช้งานม่านลำแสงนิรภัย(Light Curtain) ของ SUNX

อุบัติเหตุถือเป็นเรื่องที่สำคัญและใกล้ตัวเรา เป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้แต่มักจะส่งผลเสียและร้ายแรงต่อผู้ที่ได้ รับอุบัติเหตุอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่เกิดจากเครื่องจักรหรือเครื่องมือในโรงงานอุตสาหกรรม
เครื่องจักรอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มักมีอันตรายต่อผู้ใช้งานอย่างมาก ถ้าใช้งานอย่างไม่ระมัดระวังโดยเฉพาะเครื่องจักรหนักประเภท เครื่องปั้ม เครื่องตัด เครื่องพับ เครื่องเจาะ แขนกลอัตโนมัติ ซึ่งเครื่องเหล่านี้ถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้นกับผู้ใช้งานจะส่งผลถึงชีวิตหรือ ความพิการทางร่างกายแก่ผู้ใช้งานได้
ความปลอดภัยของผู้ใช้งานเครื่องจักรจึงเป็นเรื่องที่ต้องมีการคิดและทำ อย่างจริงจังเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุที่มาจากเครื่องจักรได้ไม่ว่า อุบัติเหตุนั้นจะมาจากความประมาทของผู้ใช้งานหรือความผิดปกติของเครื่องจักร เอง ก็ต้องมีระบบที่จะใช้ป้องกันอันตรายหรืออุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น เพราะนอกจากผู้ใช้งานจะได้รับบาดเจ็บแล้ว ทางบริษัทหรือโรงงานก็จะต้องรับผิดชอบส่งผลให้เกิดการสูญเสียทั้ง ค่าใช้จ่าย ชื่อเสียง เวลาในการผลิตและความน่าเชื่อถือจากคู่ค้าทางธุรกิจอีกด้วย
ประกาศกระทรวงมหาดไทยความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร
กฎหมายควบคุมความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรเนื่องจากเป็น เรื่องที่ไม่ควรมองข้ามทางรัฐบาลเองก็จำเป็นต้องมีการออกกฎหมายเพื่อเป็นการ ควบคุมบริษัทหรือโรงงานที่มีการนำเอาเครื่องจักรหนักประเภทเครื่องปั้มมาใช้ งานและในขณะเดียวกันก็เป็นการคุมครองและป้องกันอันตรายเบื้องต้นให้กับผู้ ใช้งานเครื่อง

ม่านลำแสงนิรภัย (Light Curtain) แตกต่างกับเซนเซอร์แบบม่านลำแสงทั่วไป อย่างไร

เซนเซอร์ม่านลำแสง
หลายต่อหลายท่านอาจจะรู้จักหรือเคยเห็นเซนเซอร์แบบม่านลำแสงมาก่อนแล้ว หรืออาจเคยใช้งานด้วย แต่ท่านรู้หรือไม่ว่าม่านลำแสงชุดนั้นเป็นแบบระบบนิรภัยหรื อไม่
Area Sensors ที่มีโครงสร้างเป็นแบบโมดูลาร์ สามารถปรับเพิ่มหรือลดจำนวนลำแสงให้สูงตามที่จะใช้งานได้ตามต้องการและสะดวก ในการเปลี่ยนชิ้นส่วนเพื่อการซ่อมบำรุงโดยง่าย
Area Sensors ที่มีโครงสร้างเป็นแบบโมดูลาร์
Area Sensors ที่มีโครงสร้างแบบธรรมดาทั่วไป เป็นแบบที่มีลักษณะขนาดความสูงคงที่ ฉะนั้นเวลาสั่งซื้อควรเลือกขนาดที่จะใช้งานให้เหมาะสมเพื่อป้องกันการผิด พลาด แต่มีราคาประหยัดส่วนใหญ่มักมีใช้ในโรงงานอุตสาหรรม ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ ติดตั้งเพื่อตรวจจับ การหยิบ ชิ้นงานตามลำดับเพราะมีหลอดไฟขนาดใหญ่ในการแสดงผล
Area Sensors ที่มีโครงสร้างเป็นแบบโมดูลาร์
ม่านลำแสงนิรภัย (Light Curtain) ใช้สำหรับป้องกันร่างกายมนุษย์จากจุดที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้ของเครื่อง จักร และทำการป้องกันการเข้ามาของพนักงานในบริเวณที่อันตราย โดยการใช้หลักว่าลำแสงถูกบังจะทำให้เครื่องจักรหยุดทำงานไม่ว่ากรณีใดๆ และถ้าหากเกิดความบกพร่องต่อระบบส่งและรับแสงทำให้แสงดับหรือความผิดปกติใดๆ ที่เกิดจากตัวม่านลำแสงนิรภัยเอง เครื่องจักรจะต้องไม่ทำงานด้วย
Light Curtain ม่านลำแสงนิรภัย

ม่านลำแสงนิรภัย (Light Curtain)

ม่านลำแสงนิรภัย (Light Curtain) ถูกแบ่งออกตามประเภทของระดับความอันตราย (ความเสี่ยง) ที่กำหนดไว้ใน มาตรฐาน ISO13849 แบ่งเป็น 5 ระดับ ประกอบด้วย ประเภท B และประเภท 1-4
  • Category B อุปกรณ์ป้องกันภัยขั้นพื้นฐานทั่วไป
  • Category 1 อุปกรณ์ป้องกันภัยขั้นพื้นฐานที่มีความน่าเชื่อถือสูงกว่า B
  • Category 2 อุปกรณ์นิรภัยจะมีระบบตรวจสอบการทำงาน จะรู้ได้ว่าตัวอุปกรณ์มีความผิดปกติโดยการเลือกการตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์
  • Category 3 อุปกรณ์นิรภัยมีระบบตรวจสอบการทำงานของตัวเองเฉพาะในส่วนที่สำคัญหรือส่วนที่มีโอกาสเสียได้มาก
  • Category 4 อุปกรณ์นิรภัยมีระบบตรวจสอบการทำงานของตัวเองอย่างสมบูรณ์ ความบกพร่องที่เกิดขึ้นในส่วนใดๆของอุปกรณ์ ระบบจะแจ้งเตือนและจะมีระบบสำรองทำงานแทนเพื่อให้ระบบความปลอดภัยยังทำงาน ได้อยู่
    "ที่ตัวม่านลำแสงแต่ละประเภทจะมีการระบุระดับ
    Category หรือ Type ที่ตัวม่านลำแสงอย่างชัดเจน"

    แบบไหนจะเหมาะกับเรา

    ง่ายๆ คะเราก็เพียงเริ่มจากการประเมินความเสี่ยงของอุบัติเหตุและความอันตรายของ เครื่องจักรและลักษณะงานของเราก่อน มีขั้นตอนในการวิเคราะห์ง่ายๆ ดังนี้
    การประเมินความเสี่ยง ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนพื้นฐาน คือ
    1. การชี้บ่งอันตรายประมาณค่าความเสี่ยงของอันตรายแต่ละอย่าง
    2. ความเป็นไปได้ และความรุนแรงของความเสียหาย
    3. ตัดสินว่าความเสี่ยงใดที่ยอมรับได้
      ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยง (ISO/IEC) จะเริ่มจากความรุนแรง ของ การบาดเจ็บ ความถี่ของความเสี่ยงหรือ โอกาสที่จะเกิดขึ้น และ ความเป็นไปได้ในการหลีกเลี่ยง ความเสี่ยงดังกล่าว โดยแสดง รายละเอียดของการประเมิน ดังนี้
      • S : ความรุนแรงของการบาดเจ็บ
        • S1 : บาดเจ็บเล็กน้อย เช่น บาดแผลฟกช้ำดำเขียว
        • S2 : รุนแรงมาก เช่น แขนขาขาดและเสียชีวิต
      • F : ความถี่ของความเสี่ยงต่ออันตราย
        • F1 : นาน ๆ ครั้งหรือความเสี่ยงช่วงสั้นๆ
        • F2 : เกิดขึ้นบ่อยครั้งหรือความเสี่ยงช่วงยาวๆ
      • P : ความเป็นไปได้ของการหลีกเลี่ยงอันตราย
        • P1 : เป็นไปได้ภายใต้เงื่อนไข
        • P2 : แทบจะเป็นไปไม่ได้
        การประเมินระดับความเสี่ยง
        ตัวอย่างการเลือกประเภท (Category) การควบคุม
        • การชนกับยานพาหนะนำทางอัตโนมัติ
        การชนกับยานพาหนะนำทางอัตโนมัติ
        • เครื่องตัดกระดาษ
        เครื่องตัดกระดาษ

        ลักษณะของม่านลำแสงนิรภัย (Light Curtain) ที่ดี

        • มีฟังก์ชันการตัดต่อการทำงานเสมอ ไม่ว่าจะมีสิ่ง ผิดปกติใดๆ ขึ้นก็ตาม
        • มีฟังก์ชั่นตรวจสอบตัวเองเป็นช่วงๆ เพื่อตรวจสอบความผิดปกติของเซนเซอร์ จึงมั่นใจได้ว่าเซนเซอร์ยังทำงานปกติอยู่
        • ต้องใช้งานควบคู่กับ Safety Relay หรือ Controller สำหรับระบบนิรภัยที่ดีกว่าและสอดคล้องกับมาตรฐานความปลอดภัย
        • เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับรองมาตรฐานสำหรับการใช้งานเพื่อความปลอดภัยเท่านั้น

        ข้อดีของการใช้ม่านลำแสงนิรภัย (Light Curtain)

        • ไม่มีชิ้นส่วนเครื่องกลที่เป็นวัสดุแข็งหรือโลหะอื่นใดขวางหน้าอยู่ ทำให้สะดวกแก่การทำงานมาก
        • คนควบคุมเครื่องมองเห็นเครื่องจักรและชิ้นงานขณะปฏิบัติงานได้ทั่วถึง
        • สามารถใช้กับเครื่องจักรตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ที่ทำงานหลายแบบ ซึ่งไม่เหมาะกับการใช้ Guard ชนิดอื่น
        • ช่วยลดขั้นตอนการปฏิบัติงานได้เมื่อเทียบกับการใช้Guard บางประเภทจึงช่วยเพิ่มผลผลิตของงานและลดความล้าของผู้ปฏิบัติงานได้

        SUNX Light Curtain ม่านลำแสงนิรภัย
        ในโรงงานอุตสาหกรรม (ตอนจบ)

        กลับมาต่อกับเนื้อหาในเรื่องอุปกรณ์ป้องกันภัยในโรงงานอุตสาหกรรม ใน ตอนที่แล้ว เราได้รู้จักกับอุปกรณ์ป้องกันภัยที่เรียกว่า "ม่านแสงนิรภัยหรือ Light Curtain" พร้อมทั้งวิธีการเลือกใช้งานแล้ว แต่ท่านใดยังไม่ได้อ่านสามารถหาอ่านได้ในเว็บไซน์ของบริษัทแสงชัยมิเตอร์นะ คะ
        สำหรับในครั้งนี้เราจะขอบอกเล่าถึงการติดตั้งม่านลำแสงนิรภัย การที่เราจะติดตั้งม่านลำแสงนิรภัยห่างจากตัวเครื่องจักรเป็นระยะเท่าไหร่ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดนั้นมีวิธีในการคำนวณดังนี้
        Safety Distance

        สูตรสำหรับคำนวณหาระยะปลอดภัย (ISO1355)

        ระยะปลอดภัย : S = K x T + C
        K: ความเร็วของคนที่จะเข้ามาถึง
        T: เวลาการตอบสนองโดยรวมของระบบ
        C: ค่าระยะห่างเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับวัตถุเล็กสุดที่ตรวจจับได้


        ตัวอย่างการติดตั้งม่านลำแสง

        ตัวอย่างการติดตั้งม่านลำแสง จากรูปด้านซ้ายมือมีการติดตั้งม่านลำแสงให้ห่างจากเครื่องจักรพอสมควร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายกับผู้ปฏิบัติงานหากมีการยื่นอวัยวะต่างๆ เข้าไปม่านลำแสงก็สามารถสั่งหยุดเครื่องจักรได้ทันเวลาและยังติดม่านลำแสง ทุกตำแหน่งของเครื่องจักรที่คิดว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดอัตรายได้ ส่วนรูปด้านขวามือนั้นมีการติดตั้งม่านลำแสงไม่ถูกวิธีคืออาจจะติดตั้งใกล้ เครื่องจักรเกินไปหรือไม่ก็ติดไม่ถูกตำแหน่งที่ต้องการจะใช้ป้องกันอันตราย

        ข้อสังเกตการเลือกซื้อ Light Curtain Type4 ( Category4 )

        • ต้องผ่านมาตรฐานรับรองความปลอดภัย IEC , EN , UL (ใช้ได้ในประเทศสหรัฐอเมริกา , แคนาดา และยุโรป) , JIS (ใช้ได้ในประเทศญี่ปุ่น)
        • มีระดับ Type 4 หรือ Category 4 แสดงระดับมาตรฐานรับรองความปลอดภัยที่ตัวม่านลำแสง
        • มุมในการรับ/ส่งแสงจะต้องไม่เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ Effective aperture angle ± 2.5°
        หลังจากเรียนรู้เทคโนโลยีม่านลำแสงนิรภัยที่มีจำหน่ายในท้องตลาดกันไปแล้ว ที่นี้จะขอกล่าวถึงม่านลำแสงนิรภัยของยี่ห้อSUNX นะคะ
        Protection structure IP67
        ม่านลำแสงนิรภัยยี่ห้อ SUNX รุ่น SF4B Series Ver.2 เป็นม่านลำแสงนิรภัย Type 4 หรือ Category 4
        มาตรฐานIEC , EN , UL
        ได้รับมาตรฐาน IEC , EN , UL (ใช้ได้ในประเทศสหรัฐอเมริกา , แคนาดา และยุโรป), JIS (ใช้ได้ในประเทศญี่ปุ่น)
        มาตรฐานป้องกันฝุ่นและน้ำ IP67
        ได้รับมาตรฐานป้องกันฝุ่นและน้ำ IP67
        ระยะห่างระหว่างลำแสงให้เลือก 3 ระดับ
        มีระยะห่างระหว่างลำแสงให้เลือก 3 ระดับ
        ซึ่งจะเลือกใช้ระดับไหนก็ขึ้นอยู่กับระยะติดตั้งหรือขนาดส่วนของร่างกายที่ต้องการป้องกัน
        การป้องกันแบบต่างๆ ระยะห่างระหว่างม่านลำแสง Hazardous Point Zero dead zone Zero dead zone
        ออกแบบให้แนวการส่งแสงเป็นแบบ "ZERO dead zone" เพื่อความปลอดภัยสูงสุด
        Code Error
        มี CODE ERROR แสดงความผิดปกติของตัวเครื่องเพื่อให้ง่ายต่อการซ่อมบำรุง
        LED
        มี LED แสดงแนวลำแสงเพื่อสามารถติดตั้งม่านลำแสงให้ตรงกันง่ายขึ้น
        เอาท์พุทให้เลือกใช้ในตัวทั้งแบบ NPN และ PNP
        มีเอาท์พุทให้เลือกใช้ในตัวทั้งแบบ NPN และ PNP
        การทำงานผ่าน Handy Control (รุ่น SFB-HC)
        มีฟังก์ชั่นให้หยุดการทำงานบางลำแสงในกรณีที่มีชิ้นงานหรือกระบวนการผลิตจำเป็นต้องผ่านลำแสงตลอดเวลาการทำงาน
        โดยกำหนดฟังก์ชั่นการทำงานผ่าน Handy Control (รุ่น SFB-HC)

        Safety Relay Unit เป็นอุปกรณ์ใช้งานร่วมกับ Light Curtain เพื่อใช้สร้างระบบที่มีระดับการป้องกันสูงสุด

        • ใช้งานในสภาวะสูงสุดถึง Category 4 ตามมาตรฐาน EN-954-1
        • ประกอบด้วยรีเลย์ป้องกันความปลอดภัยหลายตัว ถึงแม้ว่าคอนแทคของรีเลย์ตัวใดตัวหนึ่งเสีย ก็ยังสามารถทำงานด้วยความปลอดภัยต่อไปได้
        • ในตัวเครื่องจะมีระบบที่จะช่วยป้องกัน การเริ่มทำงานโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือไม่ได้คาดเดามาก่อน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ ถ้าสวิทช์เริ่มการทำงาน (Start Switch) เสีย
        Safety Relay Unit ของยี่ห้อ SUNX รุ่น SF-C10 Series
        Safety Relay Unit ของยี่ห้อ SUNX รุ่น SF-C10 Series

        Safety Relay แตกต่างจาก Relay ทั่วไปอย่างไร

        เมื่อพูดถึง Safety Relay แล้ว ส่วนใหญ่เรามักจะนึกถึง Relay ที่ไม่มีการขัดข้อง แต่ความจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้นแต่คือ Relay ที่กำหนดการทำงานได้เมื่อเกิดกรณีขัดข้องนั่นเอง ซึ่งจะมีความแตกต่างจาก Relay ทั่วไป โดยที่ Safety Relay มีกลไกการเชื่อมต่อของหน้าคอนแทคที่ทำให้มีการเคลื่อนที่ของหน้าคอนแทคทั้ง ชุดไปพร้อมกัน ทำให้สามารถป้องกันการทำงานผิดพลาดในกรณีที่หน้าคอนแทคหลอมละลายได้
        ดังนั้น Safety Relay จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีการใช้งานร่วมกับ Light Curtain หรือม่านลำแสงนิรภัย เพื่อให้การป้องกันภัยเป็นระบบที่สมบูรณ์สูงสุด
        ถ้าหากผู้ที่สนใจที่จะใช้งานหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถ ติดต่อได้ที่แผนกผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์ SUNX บริษัท แสงชัยมิเตอร์ จำกัด ได้ตลอดเวลานะคะ ทางเรามีทีมผู้เชี่ยชาญที่พร้อมจะให้คำปรึกษาหรือช่วยดูหน้างานออกแบบในการ ติดตั้งระบบความปลอดภัยด้วยม่านลำแสงนิรภัยที่จะให้บริการแก่ทุกท่าน
        http://www.sangchaimeter.com/faqs/content/light-curtain-%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%9Aม่านลำแสงนิรภัยในโรงงาน

        แคล้มป์มิเตอร์ (Clamp Meter)

        ทำความรู้จักแคล้มป์มิเตอร์
        ตั้งแต่ที่ โทมัส อัลวา เอดิสัน ประดิษฐ์ หลอดไฟได้สำเร็จ เมื่อปีค.ศ. 1879 ชีวิตของพวกเราก็เปลี่ยนไป เราได้มีเครื่องมือเครื่องไม้อุปกรณ์ไฟฟ้า สิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย ซึ่งอุปกรณ์พวกนั้นบริโภคพลังงานไฟฟ้าเป็นหลัก
        การใช้ไฟฟ้าที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ถ้าหากระบบไฟฟ้าไม่ได้มาตรฐาน หรือการติดตั้งไม่ดีพอ ก็อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุต่างๆ ได้ง่าย ดังนั้นเราจึงต้องมีการตรวจวัด ตรวจสอบระบบไฟฟ้า เพื่อให้ได้ระบบไฟฟ้าที่อยู่ในมาตรฐานที่กำหนด เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันอุบัติเหตุ
        เครื่องมือวัดที่เรานำมาใช้ในการวัดและทดสอบทางไฟฟ้า ประกอบไปด้วย:

        • Clamp MeterClamp Meter
        • Leakage Clamp MeterLeakage Clamp Meter
        • Insulation TesterInsulation Tester
        • Earth Resistance TesterEarth Resistance Tester
        • Loop TesterLoop Tester
        • PSC, RCD TesterPSC, RCD Tester
        • Multifunction TesterMulti-function Tester
        • Portable Infrared ThermometerPortable Infrared Thermometer
        • RecorderRecorder

        แต่ตอนนี้เราจะนำทุกท่านให้ไปทำความรู้จักกับ Clamp meter ก่อนเป็นลำดับแรก และหวังว่าจะมีแรงเขียนเครื่องมือวัดอื่นๆ ต่อไป



        แคล้มป์มิเตอร์ (Clamp Meter) เป็นเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าอีกชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับเปลี่ยนปริมาณทางไฟฟ้า ให้อยู่ในรูปที่เราสัมผัสได้ เช่น ตัวเลขแสดงผล หรือให้อยู่ในรูปของเข็มชี้ค่าแสดงผล โดยจะสามารถตรวจวัดค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำโดยไม่ต้องดับไฟ หรือหยุดการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าในขณะที่ทำการวัด (รูปที่1) จึงกล่าวได้ว่าแคล้มป์มิเตอร์เป็นเครื่องมือวัดอีกชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็น มากในงานด้านไฟฟ้าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบปรับอากาศ เครื่องทำความเย็น หรืองานซ่อมบำรุง ระบบไฟฟ้าภายในรถยนต์ เป็นต้น
        ซึ่งถ้าหากเราสามารถใช้งานแคล้มป์มิเตอร์ได้อย่างถูกวิธี และมีความชำนาญอยู่แล้ว จะสามารถช่วยให้ท่านทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และในขณะเดียวกันก็ยังจะสามารถช่วยลดอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากระบบไฟฟ้าได้อีกด้วย (รูปประกอบในบทความนี้เป็นผลิตภัณฑ์ของ Kyoritsu)
        เปรียบเทียบการวัดกระแสไฟฟ้าระหว่างมัลติมิเตอร์ กับแคล้มป์มิเตอร์รูปที่ 1: เปรียบเทียบการวัดกระแสไฟฟ้าระหว่างมัลติมิเตอร์ กับแคล้มป์มิเตอร์
        ประเภทของแคล้มป์มิเตอร์
        แคล้มป์มิเตอร์จะแบ่งออกตามลักษณะการใช้งาน ดังนี้:
        • Analog AC Clamp  Meter (มิเตอร์วัดค่าทางไฟฟ้าแบบเข็ม)Analog AC Clamp Meter
          (มิเตอร์วัดค่าทางไฟฟ้าแบบเข็ม)
        • Digital AC Clamp Meter (มิเตอร์วัดค่าทางไฟฟ้าแบบตัวเลข)Digital AC Clamp Meter
          (มิเตอร์วัดค่าทางไฟฟ้าแบบตัวเลข)
        • Digital AC/DC Clamp Meter (มิเตอร์วัดค่าทางไฟฟ้าทั้ง AC/DC แบบตัวเลข)Digital AC/DC Clamp Meter
          (มิเตอร์วัดค่าทางไฟฟ้าทั้ง AC/DC แบบตัวเลข)
        • Digital AC/DC Clamp Meter RMS (มิเตอร์วัดค่าทางไฟฟ้าทั้ง AC/DC แบบ RMS)Digital AC/DC Clamp Meter RMS
          (มิเตอร์วัดค่าทางไฟฟ้าทั้ง AC/DC แบบ RMS)
        • Leakage Current Clamp Meter (มิเตอร์วัดค่ากระแสรั่วไหล)Leakage Current Clamp Meter
          (มิเตอร์วัดค่ากระแสรั่วไหล)
        • AC Power Clamp Meter (มิเตอร์วัดกำลังไฟฟ้า)AC Power Clamp Meter
          (มิเตอร์วัดกำลังไฟฟ้า)
        ประโยชน์ของแคล้มป์มิเตอร์
        แคล้มป์มิเตอร์โดยทั่วไปแล้ว จะถูกนำมาใช้งานในการวัดกระแสไฟฟ้าในระบบไฟฟ้าต่างๆ โดยการนำแคล้มป์มิเตอร์ไฟคล้องกับสายไฟที่ต้องการวัด ก็จะทำให้สามารถทราบค่ากระแสไฟฟ้าได้จากจอแสดงผลบน แคล้มป์มิเตอร์
        การนำแคล้มป์มิเตอร์ไปใช้งานด้านต่างๆรูปที่ 2: การนำแคล้มป์มิเตอร์ไปใช้งานด้านต่างๆ
        ในปัจจุบันแคล้มป์มิเตอร์ได้มีการพัฒนาให้มีขีดความสามารถในการวัดได้ ทั้ง ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) และไฟฟ้ากระแสตรง (DC) นอกจากนั้นแคล้มป์มิเตอร์ที่มีการใช้ในปัจจุบันนี้ยังมีความสามารถในการวัด กำลังไฟฟ้า (Power) ต่อเข้ากับเครื่องบันทึกกราฟ (Recorder) หรือเครื่องออสซิลโลสโคป (Oscilloscope) เพื่อใช้ในการตรวจสอบ และวิเคราะห์รูปคลื่นไฟฟ้าได้อีกด้วย
        ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลจาก บริษัท KEW (Thailand) Limited

        ครงสร้างและส่วนประกอบของแคล้มป์มิเตอร์ (Clamp Meter)
        รูปร่างของแคล้มป์มิเตอร์โดยทั่วๆ ไปในปัจจุบันจะมีลักษณะดังรูปที่ 1 จะเห็นได้ว่ารูปร่างของแคล้มป์มิเตอร์ถูกออกแบบให้เหมาะสมพอดีกับการใช้มือจับขณะทำการวัด จึงสะดวกต่อการใช้งานมาก
        • Digital AC Clamp Meter (มิเตอร์วัดค่าทางไฟฟ้าแบบตัวเลข)
          รูปที่ 1 แสดงรูปร่างและลักษณะของแคล้มป์มิเตอร์
        ส่วนประกอบต่างๆ ของแคล้มป์มิเตอร์รูปที่ 2 ส่วนประกอบต่างๆ ของแคล้มป์มิเตอร์
        1. ก้ามปู (Transformer Jaws)
        2. ปุ่มกดสำหรับเปิดก้ามปู (Jaw Trigger)
        3. สวิทช์เลือกย่านการวัด (Function Selector Switch)
        4. ปุ่มกดสำหรับคงค่าที่วัดไว้ (Data Hold Button)
        5. ปุ่มล็อคย่านวัดไฟ AC/DC (AC/DC Button)
        6. ปุ่มกดเลือกโหมด (Mode Button)
        7. ปุ่มกดปรับศูนย์ (Zero ADJ.RESET Button)
        8. จอแสดงผล (LCD Display)
        9. ฝาครอบขั้วต่อย่านวัด (Terminal Cover)
        10. ขั้วต่อเอาท์พุท (OUTPUT Terminal)
        11. ขั้วคอมมอน (COM Terminal)
        12. ขั้ววัดแรงดันไฟฟ้าและโอห์ม (V/ΩTerminal)
        13. สายคล้องแขน (Safety hand Strap)
        14. สายวัด (Test Leads (7107))
        15. ช่องเสียบเอาท์พุท (Output Plug (8201))

        ก้ามปู (Transformer Jaws)

        เครื่องมือวัดทุกชนิดจะมีส่วนของตัวเซ็นเซอร์ (Sensor) สำหรับวัด แคล้มป์มิเตอร์ก็เช่นเดียวกัน ก็จะมีก้ามปู หรือ Transformer Jaws เป็นตัวเซ็นเซอร์สำหรับตรวจวัดกระแส ซึ่งรูปร่างลักษณะของก้ามปูจะมีหลายแบบด้วยกัน เช่น แบบสี่เหลี่ยม แบบวงกลม แบบหยดน้ำ ดังรูปที่ 3
        รูปร่างและลักษณะของก้ามปูแบบต่าง ๆ
                                                 รูปที่ 3 รูปร่างและลักษณะของก้ามปูแบบต่าง ๆ
        โครงสร้างภายในของก้ามปูจะประกอบด้วยแผ่นเหล็กที่ทำมาจากโลหะผสมพิเศษที่ มีผลต่อสนามแม่เหล็กน้อย นำมาตัดเป็นรูปร่างที่กำหนดไว้เป็นแผ่นบางๆ วางซ้อนกัน และจะมีขดลวดทองแดงพันอยู่รอบๆ แผ่นเหล็กที่ประกบกัน
        จากความแตกต่างของลักษณะของแกนเหล็ก และขดลวดทองแดงของก้ามปู (Transformer Jaws) ทำให้มีข้อดี ข้อเสีย และเหมาะกับการใช้งานต่างกันออกไป ดังนั้นในการเลือกใช้งานแคล้มป์มิเตอร์ ควรจะพิจารณาในจุดนี้ด้วย
        โครงสร้างของก้ามปูแบบวัดกระแสรั่วไหลได้รูปที 4 แสดงโครงสร้างของก้ามปูแบบวัดกระแสรั่วไหลได้
        สำหรับก้ามปูของแคล้มป์มิเตอร์แบบวัดกระแสรั่วไหลได้ นอกจากกจะประกอบด้วยแผ่นเหล็กที่ประกบกัน และขดลวดทองแดงแล้ว ยังมีชีลด์สำหรับป้องกันสนามแม่เหล็กจากภายนอกครอบอยู่อีกชั้นหนึ่งทำให้ ก้ามปูแบบนี้มีความเที่ยงตรงสูงมาก

        หลักการทำงานเบื้องต้น

        ในขณะที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านสายไฟฟ้าอยู่นั้น รอบๆ สายไฟจะเกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้น ถ้าหากนำเอาก้ามปูของแคล้มป์มิเตอร์ไปคล้องกับสายไฟฟ้าแล้ว จะทำให้ตัวตรวจจับ (Sensor) ที่อยู่ตรงก้ามปูส่งค่าที่ได้ไปแสดงผลที่ภาคแสดงผลของแคล้มป์มิเตอร์ต่อไป ซึ่งวิธีการตรวจจับ (Sensor) มีด้วยกันอยู่หลายวิธี จะอธิบายเฉพาะวิธีที่นิยมใช้กันมากเท่านั้นคือ
        1. วิธีตรวจจับโดยใช้ CT (Current Transformer)
        2. วิธีตรวจจับโดยใช้ Hall Device

        วิธีการตรวจจับโดยใช้ CT (Current Transformer)

        เมื่อเรานำเอาแคล้มป์มิเตอร์คล้องเข้ากับสายไฟในขณะที่มีกระแสไหลอยู่ภาย ในสายเส้นนั้น สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นรอบๆ สายไฟจะเกิดการเหนี่ยวนำไปตัดกับขดลวดทองแดงที่พันอยู่รอบแกนเหล็กของก้ามปู ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำ และกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้นที่ขดลวดบนแกนเหล็ก
        ไดอะแกรมของแคล้มป์มิเตอร์แบบ CT (Current Transformer)
                                 รูปที่ 5 ไดอะแกรมของแคล้มป์มิเตอร์แบบ CT (Current Transformer)
        ซึ่งหลักการดังกล่าวนี้จะคล้ายกับหลักการของการเหนี่ยวนำภายในหม้อแปลง ไฟฟ้า (Transformer) โดยกระแสไฟฟ้าที่ได้จากกการเหนี่ยวนำของขดลวดนี้จะถูกส่งผ่านไปยังวงจร เปลี่ยนกระแสให้เป็นแรงดัน และผ่านการลดทอนสัญญาณเพื่อให้ได้สัญญาณขนาดที่พอเหมาะ ในขณะนี้สัญญาณที่ได้รับจะเป็นสัญญาณ AC ดังนั้นเพื่อให้ง่ายต่อการนำไปแสดงผล เราจึงต้องทำการเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณ DC ด้วยวงจร Rectifier แล้วส่งสัญญาณให้ภาค A/D converterเพื่อเปลี่ยนสัญญาณ Analog แรงดันที่ได้จากวงจร Rectifier เป็นสัญญาณดิจิตอล ซึ่งจะถูกส่งต่อไปยังภาคแสดงผลแบบดิจิตอลต่อไป

        วิธีตรวจจับด้วย Hall Device

        Hall Device จะมีหลักการดังนี้ คือ เมื่อป้อนกระแสไบอัสทางด้าน Input ของ Hall Device และมีความเข้มของสนามแม่เหล็กอยู่ใกล้ Hall Device แล้ว จะมี Output ของ Hall Device ออกมาเป็นแรงดัน โดยแรงดันที่ได้ จะเป็นสัดส่วนกับผลคูณของสนามแม่เหล็ก และกระแสไบอัส
        การใช้ Hall Device สำหรับวัดกระแสนี้ไม่เพียงแต่จะวัดไฟกระสลับได้เท่านั้น ยังสามารถวัดไฟกระแสตรงได้อีกด้วย
        แคล้มป์มิเตอร์แบบที่ใช้ตัวตรวจจับแบบ Hall Device นี้จะมี Hall Device อยู่ที่ช่องว่างเล็กๆ (GAP) เมื่อเรานำแคล้มป์มิเตอร์มาวัดกระแสไฟฟ้าแล้ว จะทำให้เกิดฟลักซ์แม่เหล็กไหลในก้ามปูเป็นผลให้ Hall Device ส่งแรงดันOutput ออกมา ผ่านวงจรชดเชยสัญญาณ แล้วผ่านวงจรขยายสัญญาณเพื่อให้ได้ขนาดสัญญาณที่พอเหมาะ จากนั้นสัญญาณจะถูกนำไปกรองให้เป็นไฟ DC และส่งต่อไปยังวงจร A/D เพื่อแสดงผลแบบดิจิตอลต่อไป
        ไดอะแกรมของแคล้มป์มิเตอร์แบบ HALL DEVICE
                                    รูปที่ 6 ไดอะแกรมของแคล้มป์มิเตอร์แบบ HALL DEVICE
        วิธีการวัดแบบนี้ วงจรชดเชยสัญญาณ (Compensator) จะมีความสำคัญเนื่องจากวิธีการวัดวิธีนี้เมื่อใช้กับไฟกระแสตรงจะเกิดแรงดัน ไฟที่ไม่สมดุล (Unbalanced Voltage) จากแรงดันไฟออฟเซทของวงจรและอื่นๆ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีวงจรชดเชยเข้าช่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุณหภูมิจะมีผลกระทบต่อ Hall Device ในขณะที่ใช้วัดไฟกระแสตรง จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณออกจากตำแหน่งศูนย์ได้
        ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลจาก บริษัท KEW (Thailand) Limited
         
        ที่มา  http://www.sangchaimeter.com/faqs/content/ทำความรู้จักแคล้มป์มิเตอร์-ตอนที่-2