ม่านลำแสงนิรภัยในโรงงานอุตสาหกรรม
ทำไมต้องมีการใช้งานม่านลำแสงนิรภัย(Light Curtain) ของ SUNX
อุบัติเหตุถือเป็นเรื่องที่สำคัญและใกล้ตัวเรา เป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้แต่มักจะส่งผลเสียและร้ายแรงต่อผู้ที่ได้ รับอุบัติเหตุอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่เกิดจากเครื่องจักรหรือเครื่องมือในโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องจักรอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มักมีอันตรายต่อผู้ใช้งานอย่างมาก ถ้าใช้งานอย่างไม่ระมัดระวังโดยเฉพาะเครื่องจักรหนักประเภท เครื่องปั้ม เครื่องตัด เครื่องพับ เครื่องเจาะ แขนกลอัตโนมัติ ซึ่งเครื่องเหล่านี้ถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้นกับผู้ใช้งานจะส่งผลถึงชีวิตหรือ ความพิการทางร่างกายแก่ผู้ใช้งานได้
ความปลอดภัยของผู้ใช้งานเครื่องจักรจึงเป็นเรื่องที่ต้องมีการคิดและทำ อย่างจริงจังเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุที่มาจากเครื่องจักรได้ไม่ว่า อุบัติเหตุนั้นจะมาจากความประมาทของผู้ใช้งานหรือความผิดปกติของเครื่องจักร เอง ก็ต้องมีระบบที่จะใช้ป้องกันอันตรายหรืออุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น เพราะนอกจากผู้ใช้งานจะได้รับบาดเจ็บแล้ว ทางบริษัทหรือโรงงานก็จะต้องรับผิดชอบส่งผลให้เกิดการสูญเสียทั้ง ค่าใช้จ่าย ชื่อเสียง เวลาในการผลิตและความน่าเชื่อถือจากคู่ค้าทางธุรกิจอีกด้วย
กฎหมายควบคุมความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรเนื่องจากเป็น เรื่องที่ไม่ควรมองข้ามทางรัฐบาลเองก็จำเป็นต้องมีการออกกฎหมายเพื่อเป็นการ ควบคุมบริษัทหรือโรงงานที่มีการนำเอาเครื่องจักรหนักประเภทเครื่องปั้มมาใช้ งานและในขณะเดียวกันก็เป็นการคุมครองและป้องกันอันตรายเบื้องต้นให้กับผู้ ใช้งานเครื่อง
ม่านลำแสงนิรภัย (Light Curtain) แตกต่างกับเซนเซอร์แบบม่านลำแสงทั่วไป อย่างไร
หลายต่อหลายท่านอาจจะรู้จักหรือเคยเห็นเซนเซอร์แบบม่านลำแสงมาก่อนแล้ว หรืออาจเคยใช้งานด้วย แต่ท่านรู้หรือไม่ว่าม่านลำแสงชุดนั้นเป็นแบบระบบนิรภัยหรื อไม่
Area Sensors ที่มีโครงสร้างเป็นแบบโมดูลาร์ สามารถปรับเพิ่มหรือลดจำนวนลำแสงให้สูงตามที่จะใช้งานได้ตามต้องการและสะดวก ในการเปลี่ยนชิ้นส่วนเพื่อการซ่อมบำรุงโดยง่าย
Area Sensors ที่มีโครงสร้างแบบธรรมดาทั่วไป เป็นแบบที่มีลักษณะขนาดความสูงคงที่ ฉะนั้นเวลาสั่งซื้อควรเลือกขนาดที่จะใช้งานให้เหมาะสมเพื่อป้องกันการผิด พลาด แต่มีราคาประหยัดส่วนใหญ่มักมีใช้ในโรงงานอุตสาหรรม ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ ติดตั้งเพื่อตรวจจับ การหยิบ ชิ้นงานตามลำดับเพราะมีหลอดไฟขนาดใหญ่ในการแสดงผล
ม่านลำแสงนิรภัย (Light Curtain) ใช้สำหรับป้องกันร่างกายมนุษย์จากจุดที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้ของเครื่อง จักร และทำการป้องกันการเข้ามาของพนักงานในบริเวณที่อันตราย โดยการใช้หลักว่าลำแสงถูกบังจะทำให้เครื่องจักรหยุดทำงานไม่ว่ากรณีใดๆ และถ้าหากเกิดความบกพร่องต่อระบบส่งและรับแสงทำให้แสงดับหรือความผิดปกติใดๆ ที่เกิดจากตัวม่านลำแสงนิรภัยเอง เครื่องจักรจะต้องไม่ทำงานด้วย
ม่านลำแสงนิรภัย (Light Curtain)
ม่านลำแสงนิรภัย (Light Curtain) ถูกแบ่งออกตามประเภทของระดับความอันตราย (ความเสี่ยง) ที่กำหนดไว้ใน มาตรฐาน ISO13849 แบ่งเป็น 5 ระดับ ประกอบด้วย ประเภท B และประเภท 1-4- Category B อุปกรณ์ป้องกันภัยขั้นพื้นฐานทั่วไป
- Category 1 อุปกรณ์ป้องกันภัยขั้นพื้นฐานที่มีความน่าเชื่อถือสูงกว่า B
- Category 2 อุปกรณ์นิรภัยจะมีระบบตรวจสอบการทำงาน จะรู้ได้ว่าตัวอุปกรณ์มีความผิดปกติโดยการเลือกการตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์
- Category 3 อุปกรณ์นิรภัยมีระบบตรวจสอบการทำงานของตัวเองเฉพาะในส่วนที่สำคัญหรือส่วนที่มีโอกาสเสียได้มาก
- Category 4 อุปกรณ์นิรภัยมีระบบตรวจสอบการทำงานของตัวเองอย่างสมบูรณ์ ความบกพร่องที่เกิดขึ้นในส่วนใดๆของอุปกรณ์ ระบบจะแจ้งเตือนและจะมีระบบสำรองทำงานแทนเพื่อให้ระบบความปลอดภัยยังทำงาน ได้อยู่
"ที่ตัวม่านลำแสงแต่ละประเภทจะมีการระบุระดับ
Category หรือ Type ที่ตัวม่านลำแสงอย่างชัดเจน"
Category หรือ Type ที่ตัวม่านลำแสงอย่างชัดเจน"
แบบไหนจะเหมาะกับเรา
ง่ายๆ คะเราก็เพียงเริ่มจากการประเมินความเสี่ยงของอุบัติเหตุและความอันตรายของ เครื่องจักรและลักษณะงานของเราก่อน มีขั้นตอนในการวิเคราะห์ง่ายๆ ดังนี้การประเมินความเสี่ยง ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนพื้นฐาน คือ
- การชี้บ่งอันตรายประมาณค่าความเสี่ยงของอันตรายแต่ละอย่าง
- ความเป็นไปได้ และความรุนแรงของความเสียหาย
- ตัดสินว่าความเสี่ยงใดที่ยอมรับได้
- S : ความรุนแรงของการบาดเจ็บ
- S1 : บาดเจ็บเล็กน้อย เช่น บาดแผลฟกช้ำดำเขียว
- S2 : รุนแรงมาก เช่น แขนขาขาดและเสียชีวิต
- F : ความถี่ของความเสี่ยงต่ออันตราย
- F1 : นาน ๆ ครั้งหรือความเสี่ยงช่วงสั้นๆ
- F2 : เกิดขึ้นบ่อยครั้งหรือความเสี่ยงช่วงยาวๆ
- P : ความเป็นไปได้ของการหลีกเลี่ยงอันตราย
- P1 : เป็นไปได้ภายใต้เงื่อนไข
- P2 : แทบจะเป็นไปไม่ได้
ตัวอย่างการเลือกประเภท (Category) การควบคุม
- การชนกับยานพาหนะนำทางอัตโนมัติ
- เครื่องตัดกระดาษ
ลักษณะของม่านลำแสงนิรภัย (Light Curtain) ที่ดี
- มีฟังก์ชันการตัดต่อการทำงานเสมอ ไม่ว่าจะมีสิ่ง ผิดปกติใดๆ ขึ้นก็ตาม
- มีฟังก์ชั่นตรวจสอบตัวเองเป็นช่วงๆ เพื่อตรวจสอบความผิดปกติของเซนเซอร์ จึงมั่นใจได้ว่าเซนเซอร์ยังทำงานปกติอยู่
- ต้องใช้งานควบคู่กับ Safety Relay หรือ Controller สำหรับระบบนิรภัยที่ดีกว่าและสอดคล้องกับมาตรฐานความปลอดภัย
- เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับรองมาตรฐานสำหรับการใช้งานเพื่อความปลอดภัยเท่านั้น
ข้อดีของการใช้ม่านลำแสงนิรภัย (Light Curtain)
- ไม่มีชิ้นส่วนเครื่องกลที่เป็นวัสดุแข็งหรือโลหะอื่นใดขวางหน้าอยู่ ทำให้สะดวกแก่การทำงานมาก
- คนควบคุมเครื่องมองเห็นเครื่องจักรและชิ้นงานขณะปฏิบัติงานได้ทั่วถึง
- สามารถใช้กับเครื่องจักรตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ที่ทำงานหลายแบบ ซึ่งไม่เหมาะกับการใช้ Guard ชนิดอื่น
- ช่วยลดขั้นตอนการปฏิบัติงานได้เมื่อเทียบกับการใช้Guard บางประเภทจึงช่วยเพิ่มผลผลิตของงานและลดความล้าของผู้ปฏิบัติงานได้
SUNX Light Curtain ม่านลำแสงนิรภัย
ในโรงงานอุตสาหกรรม (ตอนจบ)
กลับมาต่อกับเนื้อหาในเรื่องอุปกรณ์ป้องกันภัยในโรงงานอุตสาหกรรม ใน ตอนที่แล้ว เราได้รู้จักกับอุปกรณ์ป้องกันภัยที่เรียกว่า "ม่านแสงนิรภัยหรือ Light Curtain" พร้อมทั้งวิธีการเลือกใช้งานแล้ว แต่ท่านใดยังไม่ได้อ่านสามารถหาอ่านได้ในเว็บไซน์ของบริษัทแสงชัยมิเตอร์นะ คะ
สำหรับในครั้งนี้เราจะขอบอกเล่าถึงการติดตั้งม่านลำแสงนิรภัย การที่เราจะติดตั้งม่านลำแสงนิรภัยห่างจากตัวเครื่องจักรเป็นระยะเท่าไหร่ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดนั้นมีวิธีในการคำนวณดังนี้
K: ความเร็วของคนที่จะเข้ามาถึง
T: เวลาการตอบสนองโดยรวมของระบบ
C: ค่าระยะห่างเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับวัตถุเล็กสุดที่ตรวจจับได้
ดังนั้น Safety Relay จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีการใช้งานร่วมกับ Light Curtain หรือม่านลำแสงนิรภัย เพื่อให้การป้องกันภัยเป็นระบบที่สมบูรณ์สูงสุด
ถ้าหากผู้ที่สนใจที่จะใช้งานหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถ ติดต่อได้ที่แผนกผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์ SUNX บริษัท แสงชัยมิเตอร์ จำกัด ได้ตลอดเวลานะคะ ทางเรามีทีมผู้เชี่ยชาญที่พร้อมจะให้คำปรึกษาหรือช่วยดูหน้างานออกแบบในการ ติดตั้งระบบความปลอดภัยด้วยม่านลำแสงนิรภัยที่จะให้บริการแก่ทุกท่าน
http://www.sangchaimeter.com/faqs/content/light-curtain-%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%9Aม่านลำแสงนิรภัยในโรงงานสำหรับในครั้งนี้เราจะขอบอกเล่าถึงการติดตั้งม่านลำแสงนิรภัย การที่เราจะติดตั้งม่านลำแสงนิรภัยห่างจากตัวเครื่องจักรเป็นระยะเท่าไหร่ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดนั้นมีวิธีในการคำนวณดังนี้
สูตรสำหรับคำนวณหาระยะปลอดภัย (ISO1355)
ระยะปลอดภัย : S = K x T + CK: ความเร็วของคนที่จะเข้ามาถึง
T: เวลาการตอบสนองโดยรวมของระบบ
C: ค่าระยะห่างเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับวัตถุเล็กสุดที่ตรวจจับได้
ตัวอย่างการติดตั้งม่านลำแสง
จากรูปด้านซ้ายมือมีการติดตั้งม่านลำแสงให้ห่างจากเครื่องจักรพอสมควร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายกับผู้ปฏิบัติงานหากมีการยื่นอวัยวะต่างๆ เข้าไปม่านลำแสงก็สามารถสั่งหยุดเครื่องจักรได้ทันเวลาและยังติดม่านลำแสง ทุกตำแหน่งของเครื่องจักรที่คิดว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดอัตรายได้ ส่วนรูปด้านขวามือนั้นมีการติดตั้งม่านลำแสงไม่ถูกวิธีคืออาจจะติดตั้งใกล้ เครื่องจักรเกินไปหรือไม่ก็ติดไม่ถูกตำแหน่งที่ต้องการจะใช้ป้องกันอันตรายข้อสังเกตการเลือกซื้อ Light Curtain Type4 ( Category4 )
- ต้องผ่านมาตรฐานรับรองความปลอดภัย IEC , EN , UL (ใช้ได้ในประเทศสหรัฐอเมริกา , แคนาดา และยุโรป) , JIS (ใช้ได้ในประเทศญี่ปุ่น)
- มีระดับ Type 4 หรือ Category 4 แสดงระดับมาตรฐานรับรองความปลอดภัยที่ตัวม่านลำแสง
- มุมในการรับ/ส่งแสงจะต้องไม่เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ Effective aperture angle ± 2.5°
หลังจากเรียนรู้เทคโนโลยีม่านลำแสงนิรภัยที่มีจำหน่ายในท้องตลาดกันไปแล้ว ที่นี้จะขอกล่าวถึงม่านลำแสงนิรภัยของยี่ห้อSUNX นะคะ
ม่านลำแสงนิรภัยยี่ห้อ SUNX รุ่น SF4B Series Ver.2 เป็นม่านลำแสงนิรภัย Type 4 หรือ Category 4
ได้รับมาตรฐาน IEC , EN , UL (ใช้ได้ในประเทศสหรัฐอเมริกา , แคนาดา และยุโรป), JIS (ใช้ได้ในประเทศญี่ปุ่น)
ได้รับมาตรฐานป้องกันฝุ่นและน้ำ IP67
มีระยะห่างระหว่างลำแสงให้เลือก 3 ระดับ
ซึ่งจะเลือกใช้ระดับไหนก็ขึ้นอยู่กับระยะติดตั้งหรือขนาดส่วนของร่างกายที่ต้องการป้องกัน
ออกแบบให้แนวการส่งแสงเป็นแบบ "ZERO dead zone" เพื่อความปลอดภัยสูงสุด
มี CODE ERROR แสดงความผิดปกติของตัวเครื่องเพื่อให้ง่ายต่อการซ่อมบำรุง
มี LED แสดงแนวลำแสงเพื่อสามารถติดตั้งม่านลำแสงให้ตรงกันง่ายขึ้น
มีเอาท์พุทให้เลือกใช้ในตัวทั้งแบบ NPN และ PNP
มีฟังก์ชั่นให้หยุดการทำงานบางลำแสงในกรณีที่มีชิ้นงานหรือกระบวนการผลิตจำเป็นต้องผ่านลำแสงตลอดเวลาการทำงาน
โดยกำหนดฟังก์ชั่นการทำงานผ่าน Handy Control (รุ่น SFB-HC)
โดยกำหนดฟังก์ชั่นการทำงานผ่าน Handy Control (รุ่น SFB-HC)
Safety Relay Unit เป็นอุปกรณ์ใช้งานร่วมกับ Light Curtain เพื่อใช้สร้างระบบที่มีระดับการป้องกันสูงสุด
- ใช้งานในสภาวะสูงสุดถึง Category 4 ตามมาตรฐาน EN-954-1
- ประกอบด้วยรีเลย์ป้องกันความปลอดภัยหลายตัว ถึงแม้ว่าคอนแทคของรีเลย์ตัวใดตัวหนึ่งเสีย ก็ยังสามารถทำงานด้วยความปลอดภัยต่อไปได้
- ในตัวเครื่องจะมีระบบที่จะช่วยป้องกัน การเริ่มทำงานโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือไม่ได้คาดเดามาก่อน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ ถ้าสวิทช์เริ่มการทำงาน (Start Switch) เสีย
Safety Relay Unit ของยี่ห้อ SUNX รุ่น SF-C10 Series
Safety Relay แตกต่างจาก Relay ทั่วไปอย่างไร
เมื่อพูดถึง Safety Relay แล้ว ส่วนใหญ่เรามักจะนึกถึง Relay ที่ไม่มีการขัดข้อง แต่ความจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้นแต่คือ Relay ที่กำหนดการทำงานได้เมื่อเกิดกรณีขัดข้องนั่นเอง ซึ่งจะมีความแตกต่างจาก Relay ทั่วไป โดยที่ Safety Relay มีกลไกการเชื่อมต่อของหน้าคอนแทคที่ทำให้มีการเคลื่อนที่ของหน้าคอนแทคทั้ง ชุดไปพร้อมกัน ทำให้สามารถป้องกันการทำงานผิดพลาดในกรณีที่หน้าคอนแทคหลอมละลายได้ดังนั้น Safety Relay จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีการใช้งานร่วมกับ Light Curtain หรือม่านลำแสงนิรภัย เพื่อให้การป้องกันภัยเป็นระบบที่สมบูรณ์สูงสุด
ถ้าหากผู้ที่สนใจที่จะใช้งานหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถ ติดต่อได้ที่แผนกผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์ SUNX บริษัท แสงชัยมิเตอร์ จำกัด ได้ตลอดเวลานะคะ ทางเรามีทีมผู้เชี่ยชาญที่พร้อมจะให้คำปรึกษาหรือช่วยดูหน้างานออกแบบในการ ติดตั้งระบบความปลอดภัยด้วยม่านลำแสงนิรภัยที่จะให้บริการแก่ทุกท่าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น