วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประหยัดพลังงานผ่านกรณีศึกษา

ประหยัดพลังงานผ่านกรณีศึกษา

RICHTMASS RP-3440
สืบเนื่องมาจากผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการเปลี่ยนแปลงค่าเงิน ส่งผลให้โรงแรมต้องปรับลดต้นทุนการดำเนินงาน โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านพลังงานซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญประการหนึ่ง โรงแรมได้ดำเนินมาตราการจัดการเบื้องต้นมากมาย ซึ่งประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง
ในเวลาต่อมา การไฟ้าฝ่ายผลิตได้เสนอโครงการอาคารสีเขียวต่อทางโรงแรม และได้ทำการสำรวจวิเคราะห์การใช้พลังงานเบื้องต้นของโรงแรมพร้อมเสนอแนะว่า โรงแรมยังมีศักยภาพในการลดการใช้พลังงานได้สูง จึงเสนอระบบจัดการพลังงาน ซึ่งผลของระบบดังกล่าวสามารถควบคุมการใช้พลังงาน ลดค่าไฟฟ้า และลดปริมาณความต้องการไฟฟ้าสูงสุด (Peak Demand) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์

ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟ้าโดยการควบคุมปริมาณการใช้ไฟฟ้า (KWHr) ปริมาณความต้องการไฟฟ้าสูงสุด (Peak Demand) เพื่อช่วยในการลดต้นทุนการดำเนินงาน แสดงแนวทางและปัจจัยแห่งความสำเร็จในการลดค่าไฟฟ้า และลดการใช้พลังงาน โดยการใช้ระบบบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้า (Energy Management System)

การดำเนินการ


กฟผ. ได้สำรวจขั้นต้น โดยติดตั้งเครื่องมือวัดค่าทางไฟ้าตามจุดต่างๆ รวมทั้งสิ้น 11 จุด แล้วส่งค่าที่วัดได้มาวิเคราะห์ประมวลผลและแสดงค่าความต้องการไฟฟ้าสูงสุด ที่เวลาต่างๆ ผลการตรวจวัดพบว่า โหลดเครื่องปรับอากาศมีสัดส่วนสูงถึง 60% แสงสว่าง 25% และโหลดอื่นๆ อีก 15% สำหรับค่าความต้องการไฟฟ้าสูงสุดอยู่ระหว่างเวลา 18:00 - 22:30 น.
จากการผลการวิเคราะห์ดังกล่าว ทางโรงแรมได้กำหนด 2 มาตรการหลัก เพื่อลดค่าไฟฟ้าโดยให้กระทบต่อการให้บริการน้อยที่สุดดังนี้
  • ความต้องการไฟฟ้าสูงสุด

    กำหนดตารางเวลาการใช้อุปกรณ์บางชนิด
    • กำหนดตารางเวลาการใช้อุปกรณ์บางชนิดให้มีการใช้งานเหลื่อมเวลากัน เช่นเตาอบขนมปัง และเครื่องซักผ้า
    • จัดเวลาและควบคุมการทำงานของเครื่องทำความเย็น (Chiller) แต่ละตัว เพื่อไม่ให้เกิดการใช้ไฟฟ้าสูงสุดทับซ้อนกัน
    • ตัดการทำงานของอุปกรณ์โดยอัตโนมัติ เมื่อค่าความต้องการสูงสุดถึงจุดที่ตั้งไว้ โดยลดการใช้งานระบบปั๊มน้ำลง 50%, ปั๊มน้ำหมุนเวียนของสระน้ำลง 50%, AHU บริเวณโถงลิฟท์ 50% ตามลำดับ และเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เมื่อจำเป็นต้องใช้โหลดเกินค่าความต้องการสูงสุดที่กำหนด
  • ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า

    ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า
    • เปลี่ยนหลอดไส้เป็นหลอดประหยัดพลังงาน T5
    • หยุดการทำงานของเครื่องปรับอากาศและแสงสว่างของทางเดินหน้าห้องพักบริเวณที่ไม่ได้ใช้งาน
    • ลดจำนวนลิฟท์ใช้งานและลดการเดินเครื่องปรับอากาศ เมื่อห้องพักใช้งานมีจำนวนน้อยกว่า 50%
    • ปรับปรุงวงจรแสงสว่างภายในส่วนสำนักงานให้สามารถควบคุมการเปิด-ปิด พื้นที่ใช้งานที่เล็กลง และจัดพื้นที่ทำงานให้กลุ่มที่ทำงานร่วมกันมาอยู่ที่เดียวกัน
    • จัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์พลังงานโดยตัวแทนของพนักงานแต่ละแผนกเป็นสมาชิกเพื่อประสานงานได้อย่างทั่วถึง

หลักการทำงานของระบบจัดการพลังงาน

ระบบจัดการพลังงาน เป็นการประสมประสานการเก็บบันทึก ประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูลของคอมพิวเตอร์เข้ากับการทำงานของอุปกรณ์ตรวจวัดเพื่อนำ ข้อมูลจากอุปกรณ์ตรวจวัด เช่นสถานการณ์ทำงานหรือค่าต่างๆ ที่เกิดขึ้น (Monitoring) ไปเก็บบันทึกรวบรวมวิเคราะห์ประเมินผลบนคอมพิวเตอร์ และแสดงผลบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ แล้วอาจแจ้งเสียงเตือน หรือสั่งงานอัตโนมัติผ่านอุปกรณ์ควบคุมการทำงาน (Control Devices) ทั้งนี้สามารถบันทึกข้อมูลต่างๆ บนแกนเวลา เพื่อประโยชน์ในการจัดทำสถิติและวิเคราะห์ผลต่อๆ ไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น